วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตัวอย่าง animation 3

ตัวอย่าง Animation


3. Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม Maya, Macromedia
และ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง
Toy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น 

ตัวอย่าง animation 2

 ตัวอย่าง Animation



2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ อาจจะเป็นของเล่น
หรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้ได้อีกหลายครั้ง
และยังสามารถผลิตได้หลายตัว  ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน  แต่การทำ Stop Motmotion นั้น

ตัวอย่างวิดีโอ animation 1


                                             ตัวอย่างAnimation




1. Drawn Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ  แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่นาที
ข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ  สวยงาม  น่าดูชม  แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก  ต้องใช้แอนิเมเตอร์
จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย

ความหมายของ animation



      แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช
 แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง "การสร้างภาพเคลื่อนไหว" ด้วยการนำภาพนิ่งมาเรียงลำดับกัน  และแสดงผลอย่างต่อเนื่องทำให้ดวงตาเห็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา (Persistence of Vision) เมื่อตามนุษย์มองเห็นภาพที่ฉา่ย อย่างต่อเนื่อง เรตินาระรักษาภาพนี้ไว้ในระยะสั้นๆ ประมาณ 1/3 วินาที หากมีภาพอื่นแทรกเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีความต่อเนื่องกัน  แม้ว่าแอนิเมชั่นจะใช้หลักกับวิดิโอ   แต่แอนิเมชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้มากมาย  เช่นงานภาพยนตร์  งานโทรทัศน์  งานพัฒนาเกมส์  งานสถาปัตย์การเดียวงานก่อสร้าง งานด้านวิทยาศาสตร์  หรืองานพัฒนาเว็บไซต์  เป็นต้น
ประเภทของ Anaimation มี 2 ประเภท คือ

}       1. 2D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ มองเห็นทั้งความสูงและความกว้าง  ซึ่งจะมีความเหมือนจริงพอสมควร และในการสร้างจะไม่สลับซับซ้อนมากนักตัวอย่างเช่น  การ์ตูนที่เรื่อง One Piece  โดเรมอน หรือ ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ รวมทั้ง Gif Animation

2. 3D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ มองเห็นทั้งความสูงความกว้าง และความลึก  ภาพที่เห็นจะมีความสมจริงมากถึงมากที่สุด(ก็สุดแล้วแต่จะโชว์พาว) เช่น  ภาพยนตร์เรื่อง Toy Story  NEMO เป็นต้น
รูปแบบของ Animation มี 3 แบบ คือ
}       1.Drawn Animation คือแอนิเมชันที่เกิดจากการวาดภาพที่ละภาพหลายๆพันภาพ แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่วินาที  ข้อดีของการทำแอนิเมชันชนิดนี้  คือ  มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าชม  แต่ข้อเสีย  คือ  ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก  ต้องใช้แอนิเมเตอร์จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย
}       2.Stop Motion  หรือเรียกว่า Model Animation  เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ  อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างจาก plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมัน  โดยโมเดลที่สร้างขึ้นสามารถใช้ได้อีกหลายครั้ง  และยังสามารถผลิตได้หลายตัว  แต่การทำ stop motion ต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก เพราะบริษัทที่ผลิตภาพยนตร์เรื่อง James and Giant Peach สามารถผลิตได้วันละ 10 วินาทีเท่านั้น
}       3.Computer Animation  ปัจจุบันมีซอฟแวร์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชันง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม MAYA  3D MAX  Adobe Flash  เป็นต้น  วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและลดต้นทุนเป็นอย่างมาก  เช่น  ภาพยนตร์เรื่อง  Toy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น
ตัวอย่าง computer animation (3D)


ตัวอย่าง computer animation (2D) 


Animation is the rapid display of a sequence of images to create an illusion of movement. The most common method of presenting animation is as a motion picture or video program, although there are other methods. This type of presentation is usually accomplished with a camera and a projector or a computerviewing screen which can rapidly cycle through images in a sequence. Animation can be made with either hand rendered art, computer generated imagery, or three-dimensional objects, e.g., puppets or clay figures, or a combination of techniques. The position of each object in any particular image relates to the position of that object in the previous and following images so that the objects each appear to fluidly move independently of one another. The viewing device displays these images in rapid succession, usually 24, 25, or 30 frames per second.
Stop-motion animation is used to describe animation created by physically manipulating real-world objects and photographing them one frame of film at a time to create the illusion of movement. There are many different types of stop-motion animation, usually named after the medium used to create the animation. Computer software is widely available to create this type of animation; however, traditional stop motion animation is usually less expensive and time-consuming to produce than current computer animation.
    Puppet animation typically involves stop-motion puppet figures interacting in a constructed environment, in contrast to real-world interaction in model animation. The puppets generally have an armatureinside of them to keep them still and steady as well as to constrain their motion to particular joints. Examples include The Tale of the Fox (France, 1937), The Nightmare Before Christmas (US, 1993),Corpse Bride (US, 2005), Coraline (US, 2009), the films of Jiří Trnka and the TV series Robot Chicken (US, 2005–present).
      Puppetoon, created using techniques developed by George Pal, are puppet-animated films which typically use a different version of a puppet for different frames, rather than simply manipulating one existing puppet.
      Clay animation, or Plasticine animation (often called claymation, which, however, is a trademarked name), uses figures made of clay or a similar malleable material to create stop-motion animation. The figures may have an armature or wire frame inside, similar to the related puppet animation (below), that can be manipulated to pose the figures. Alternatively, the figures may be made entirely of clay, such as in the films of Bruce Bickford, where clay creatures morph into a variety of different shapes. Examples of clay-animated works include The Gumby Show (US, 1957–1967) Morph shorts (UK, 1977–2000),Wallace and Gromit shorts (UK, as of 1989), Jan Švankmajer's Dimensions of Dialogue (Czechoslovakia, 1982), The Trap Door (UK, 1984). Films includeWallace & Gromit: The Curse of the Were-Rabbit, Chicken Run and The Adventures of Mark Twain.
      Cutout animation is a technique for producing animations using flat characters, props and backgrounds cut from materials such as paper, card, stiff fabric or evenphotographs. The world's earliest known animated feature films were cutout animations (made in Argentina by Quirino Cristiani); as is the world's earliest surviving animated feature.
      Computer animation encompasses a variety of techniques, the unifying factor being that the animation is created digitally on a computer. This animation takes less time to produce than previous traditional animation. 2D animation techniques tend to focus on image manipulation while 3D techniques usually build virtual worlds in which characters and objects move and interact. 3D animation can create images that seem real to the viewer.

      2D animation


      2D animation figures are created and/or edited on the computer using 2D bitmap graphics or created and edited using 2D vector graphics. This includes automated computerized versions of traditional animation techniques such as interpolated morphingonion skinning and interpolated rotoscoping.

      3D animation


      3D animation is digitally modeled and manipulated by an animator. The animator starts by creating an external 3D mesh to manipulate. A mesh is a geometric configuration that gives the visual appearance of form to a 3D object or 3D environment. The mesh may have many vertices which are the geometric points which make up the mesh; it is given an internal digital skeletal structure called an armature that can be used to control the mesh with weights. This process is called rigging and can be programmed for movement with keyframes.
      Other techniques can be applied, such as mathematical functions (e.g., gravity, particle simulations), simulated fur or hair, and effects such as fire and water simulations. These techniques fall under the category of 3D dynamics.
      สรุปความหมายของ animation
      animation คือ การ์ตูนน์หรือสิ่งที่สามารถเคลื่อนไหวได้และได้มีการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น การ์ตูนน์ หรือ ภาพยนต์แอนิเมชั่น animation นั้นมีหลายประเภท  1.แอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพ  2. แอนิเมชั่นการถ่ายภาพและเรียบเรียง และ 3.ทำจากโปรแกรมซอร์ฟแวร์







        

      วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

      ประวัติส่วนตัว

      ประวัติส่วนตัว




      ชื่อ นางสาวธนาวรรณ  บรรเทาสุข 
      ชื่อเล่น : น้ำ อายุ 16 
      เกิดวันที่ : 21 พฤศจิกายน 2540 
      กำลังศึกษา : โรงเรียนกระทุ่มแบนวิเศษสมุทคุณ
      ชอบสี ; ดำ
      อาศัยอยู่ : 80/31 ม.1 ต.ท่าเสา  อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร




      RFID

      RFID คืออะไร

             RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 
      โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้
      กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับ
      สัญญาน ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
            RFID 
      ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจาก
      ระยะห่างเพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ เช่น 
      ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมลูของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต 
      ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไหร่ ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่ง
      ที่ตั้งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุบันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้อง
      เห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียน ข้อมูล


      RFID มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าระบบบาร์โค้ดดังนี้
      >> มีความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า ซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละ
      ชิ้นแม้จะเป็น SKU (Stock Keeping Unit - ชนิดสินค้า) เดียวกันก็ตาม
      >> ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า
      >> สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID
      >> สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด
      (Non-Line of Singht)ค่าเฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี  RFID นั้นจะอยู่ที่ประมาณ
      99.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ดอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์
      >> สามารถเขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า ซึ่งคิด
      เป็นประมาณ  5% ของรายรับของบริษัท
      >> สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด
      >> ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์
      >> ระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ
      >> ทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก

      ลักษณะการทำงานของระบบ RFID

      หัวใจของเทคโนโลยี RFID ได้แก่ "Inlay" ที่บรรจุอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์กับโลหะที่ยืดหยุ่นได้
      สำหรับการติดตามหรือทำหน้าที่เป็นเสาอากาศนั่นเอง Inlay มีความหนาสูงสุดอยู่ที่ 0.375 มิลลิเมตร
      สามารถทำเป็นแผ่นบางอัดเป็นชั้น ๆ ระหว่างกระดาษ, แผ่นฟิล์ม หรือพลาสติกก็ได้ ซึ่งเป็นการผลิตเครื่อง
      หมายหรือฉลาก จึงทำให้ง่ายต่อการติดเป็นป้ายชื่อหรือฉลากของชิ้นงานหรือวัตถุนั้น ๆ ได้สะดวกองค์ประกอบ
      ในระบบ RFID จะมีหลัก ๆ อยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือส่วนแรกคือฉลากหรือป้ายขนาดเล็กที่จะถูกผนึกอยู่กับวัตถุที่
      เราสนใจ โดยฉลากนี้จะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้นๆ เอาไว้ ฉลากดังล่าวมีชื่อเรียกว่า ทรานสพอนเดอร์ 
      (Transponder, Transmitter & Responder) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า"แท็กส์"(Tag) ส่วนที่สองคืออุปกรณ์
      สำหรับอ่านหรือเขียนข้อมูลภายในแท็กส์ มีชื่อเรียกว่า ทรานสซิฟเวอร์ (Transceiver,Transmitter & Receiver)
      หรือที่เรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า "เครื่องอ่าน" (Reder)ทั้งสองส่วนจะสื่อสารกันโดยอาศัยช่องความถี่วิทยุ สํญญาณ
      นี้ผ่านได้ทั้งโลหะและอโลหะแต่ไม่สามารถติดต่อกับเครื่องอ่านให้อ่านได้โดยตรง เมื่อเครื่องอ่านส่งข้อมูลผ่าน่ความถี่
      วิทยุ แสดงถึงความต้องการข้อมูลที่ถูกระบุไว้จากป้าย ป้ายจะตอบข้อมูลกลบและเครื่องอ่านจะส่งข้อมูลต่อไปยังส่วน
      ประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์โดยเครื่องอ่านจะติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์โดยผ่านสายเครือข่าย LAN (Local
      Area Network) หรือส่งผ่านทางความถี่วิทยุจากทั้งอุปกรณ์มีสายและอุปกรณ์ไร้สาย
      ปัจจุบันมีการนำ RFID มาใช้งานกันในงานหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในบัตรชนิดต่างๆ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน
      บัตรเอทีเอ็ม บัตรสำหรับผ่านเข้าออกหัองพัก บัตรโดยสารของสายการบิน บัตรจอดรถ ในฉลากของสินค้าหรือแม้
      แต่ใช้ฝังลงในตัวสัตว์เพื่อบันทึกประวัติ เป็นต้น การนำ RFID มาใช้งานก็เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการผ่านเข้า
      ออกบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือเพื่ออ่านหรือเก็บข้อมูลบางอย่างเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีที่เป็นฉลากสินค้า RFID
      ก็จะถูกนำมาใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เพื่อให้สามารถทราบถึงที่มาที่ไปของสินค้าชิ้นนั้นๆ ได้ เป็นต้น
      สำหรับรูปแบบของเทคโนโลยี RFID ที่ใช้ในการดังกล่าวก็มีทั้งแบบสมาร์ทการ์ดที่สามารถถูกเขียนหรืออ่านข้อมูล
      ออกมาได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัสกับเครื่องอ่านบัตรหรือคอนแทคเลสสมาร์ทการ์ด(Contact Less Smart card),
      เหรียญ, ป้ายชื่อหรือฉลากซึ่งมีขนาดเล็กมากจนสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษ หรือฝังเอาไว้ในตัว
      สัตว์ได้เลยที่เดียวการพัฒนาระบบ RFID มิได้มีจุดประสงค์เพื่อมาแทนที่ระบบอื่นที่มีการพัฒนามาก่อนหน้า
      เช่น ระบบบาร์โค้ด แต่เป็นการเสริมจุดอ่อนต่างๆ ของระบบอื่นในประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้เทคโนโลยี RFID
      ในหลากหลายด้านทั้งใช้ในด้านการขนส่ง (บัตรทางด่วน บัตรโดยสารรถไฟฟ้า) ด้านการปศุสัตว์ (การให้อาหาร
      การติดตามโรค) ใช้กับเอกสารราชการ (บัตรพนักงาน บัตรจอดรถ) และการใช้ RFID เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน
      ด้าน Logistics โดยใช้ผนึกอิเล็กทรอนิกส์ติด RFID ปิดล็อคตู้คอนแทนเนอร์เพื่อสะดวกในการติดตาม บริหารจัดกา
      รขนส่ง ด้านการแพทย์ (บันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วย) หรือแม้แต่ในงานของห้องสมุด

      คลื่นวิทยุ (Radio Frequency)
      คลื่นวิทยุเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งเหมือนกับพวก แสง คลื่นอัลตราไวโอเล็ต และคลื่นอินฟราเรด เพียงแต่
      ต่างย่านความถี่เท่านั้น คลื่นวิทยุที่แผ่กระจายออกจากสายอากาศนั้นประกอบไปด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
      ความถี่ของคลื่นวิทยุที่เราพูดกัน จะหมายถึงความถี่ของคลื่นพาหะหรือ Carrier Frequency ความถี่ในระบบ RFID
      ที่ใช้กันทั่วไปได้แก่
      >> LF 125 KHz ( Low Frequency )
      >> HF 13.56 MHz (High Frequency )
      >> UHF 869.5 MHz ( Ultra-high Frequency)
      LF 125 KHz
      เป็นความถี่มาตรฐานที่ใช้งานทั่วไป ระยะการรรับส่งข้อมูลใกล้ ต้นทุนไม่สูงมาก ความเร็วในการอ่านต่ำ LF 
      มักพบการใช้งานหน่วยงานของปศุสัตว์ , ระบบควบคุมการเปิดปิดประตู
      HF 13.56 MHz (ใช้เฉพาะในยุโรป)
      “B-9704-1-QP” เป็นออฟชั่นของเครื่องพิมพ์ในการถอดรหัส(Encode)ชิป ที่ใช้ในย่านความถี่ HF 13.56
      ในปัจจุบันรองรับชิป C210 ,C220 , C240, C270(I-code) และ tag มาตรฐาน ISO 15693 รวมถึง tag
      มาตรฐาน ISO 18000 type 3 ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   ในย่านความถี่นี้เป็นย่านความถี่ใช้กันทั่วโลก RFID
      ในย่านความถี่ HF ใช้กับ passive tag และ มักพบเห็นการใช้งาน RFID ในย่านความถี่ HF ในห้องสมุด และ
      การป้องกันการปลอมแปลงสินค้า
      UHF 869.5 MHz 
      “B-9704-U1-QP” เป็นออฟชั่นของเครื่องพิมพ์ในการถอดรหัส(Encode)ชิป ที่ใช้ในย่านความถี่ UHF 869.5 MHz
      ในปัจจุบันรองรับชิป EPC Class0, Class1 และ ISO-1800-6-B   EPC Class 0+ และ  GEN2 ซึ่งจะหาได้ง่ายใน
      อนาคต  คลื่นความถี่ที่อยู่ในช่องความถี่ UHF ที่สามารถใช้กับระบบ RFID จะอยู่ระหว่าง 860 – 960 MHz  ระบบ
      UHF RFID ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่คลื่นความที่ 915 MHz และ ระบบ UHF RFID ที่ใช้ในยุโรปจะอยู่ที่คลื่น
      ความถี่ 868 MHz การใช้งาน  UHF RFID  ขยายวงกว้างขึ้นจากองค์กรขนาดใหญ่ , ธุรกิจระหว่างประเทศ ไปยัง
      ธุรกิจขนาดเล็กในหลายๆ สายงาน

      GPS


      จีพีเอส


      ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก[1] หรือ จีพีเอส (อังกฤษGlobal Positioning System: GPS) คือระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งทราบตำแหน่ง ทำให้ระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลก โดยเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส รุ่นใหม่ๆ จะสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมแผนที่ เพื่อใช้ในการนำทางได้
      แนวคิดในการพัฒนาระบบจีพีเอส เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา นำโดย Dr. Richard B. Kershner ได้ติดตามการส่งดาวเทียมสปุตนิกของโซเวียต และพบปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ของคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียม พวกเขาพบว่าหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นผิวโลก ก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมได้จากการตรวจวัดดอปเปลอร์ และหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนของดาวเทียม ก็สามารถระบุตำแหน่งบนพื้นโลกได้ ในทางกลับกัน
      กองทัพเรือสหรัฐได้ทดลองระบบนำทางด้วยดาวเทียม ชื่อ TRANSIT เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1960 ประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน 5 ดวง ส่วนดาวเทียมที่ใช้ในระบบจีพีเอส (GPS Block-I) ส่งขึ้นทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1978 เพื่อใช้ในทางการทหาร
      เมื่อ ค.ศ. 1983 หลังจากเกิดเหตุการณ์โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ของเกาหลีใต้ บินพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของสหภาพโซเวียต และถูกยิงตก ผู้โดยสาร 269 คนเสียชีวิตทั้งหมด ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนได้ประกาศว่า เมื่อพัฒนาระบบจีพีเอสแล้วเสร็จ จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปใช้งานได้
      ดาวเทียมจีพีเอส เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร (12,600 ไมล์ หรือ 10,900 ไมล์ทะเล) จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ ที่ความเร็ว 4 กิโลเมตร/วินาที การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น 6 ระนาบๆ ละ 4 ดวง ทำมุม 55 องศา โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม 24 ดวง หรือมากกว่า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-6 ดวง