วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผลงานภาคเรียนที่ 2

 ผลงานภาคเรียนที่ 2


ผลงานแรก


  • ความประทับใจในการทำงานนี้
ได้เรียนรู้การใช้โปรแกรม Access และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบ และการสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ


           ผลงานกลุ่ม




  • ความประทับใจในการทำงานนี้
ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานกลุ่มและได้ระดมความคิดได้สร้างความสามัคคีกันภายในกลุ่ม และช่วยเหลือกันในการทำงาน

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของฐานข้อมูล


องค์ประกอบของฐานข้อมูล






องค์ประกอบของฐานข้อมูล

              ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลโดยมีซอฟแวร์หรือโปรแกรมช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ได้ข้อมูลตามผู้ใช้ต้องการ  องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล  แบ่งออกเป็น  5  ประเภท คือ

        1. ฮาร์ดแวร์  (  Hardware  )
        2. โปรแกรม  (  Program  )
        3. ข้อมูล  (  Data  )
        4. บุคลากร  (  People  )
        5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (  Procedures  )

        ฮาร์ดแวร์  (  Hardware  )
           ในระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการบริหารระบบงานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ไม่ว่าจะเป็นขนาดของหน่วยความจำ  ความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง  อุปกรณ์นำเข้าและออกรายงาน  รวมถึงหน่วยความจำสำรองที่รองรับการประมวลผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภา

              โปรแกรม  (  Program  )
                 ในการประมวลผลฐานข้อมูลอาจจะใช้โปรแกรมที่แตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ว่าเป็นแบบใด โปรแกรมที่ทำหน้าที่การสร้าง  การเรียกใช้ข้อมูล  การจัดทำรายงาน  การปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้าง  การควบคุม  หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า  ระบบจัดการฐานข้อมูล  (  Database  Management  System  )  คือโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูลโดยจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้   และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล

      ข้อมูล  (  Data  )
                 ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างเป็นระบบ  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้
    สามารถใช้ร่วมกันได้  ผู้ใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูล  จะมองภาพข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน  เช่น  ผู้ใช้บางคนมองภาพของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในสื่อเก็บข้อมูลจริง  (  Physical  Level )  ในขณะที่ผู้ใช้บางคนมองภาพข้อมูลจากการใช้งานของผู้ใช้  ( External  Level  )

      บุคลากร  (  People  )
    ผู้ใช้ทั่วไป  เป็นบุคลากรที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล  เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้  เช่น  ในระบบ
    ข้อมูลการจองตั๋วเครื่องบิน  ผู้ใช้ทั่วไป  คือ  พนักงานจองตั๋ว
    พนักงานปฏิบัติงาน  ( Operating ) เป็นผู้ปฏิบัติการด้านการประมวลผล การป้อนข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์
    นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (  System  Analyst  ) เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบฐานข้อมูล  และออกแบบระบบงานที่จะนำมาใช้
    ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน  (  Programmer  ) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ เพื่อให้การจัดเก็บการเรียกใช้ข้อมูลเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้
    ผู้บริหารงานฐานข้อมูล  (  Database  Administrator  : DBA  )  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารและควบคุมการบริหารงานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมด  เป็นผู้ที่จะต้องตัดสินใจว่าจะรวบรวมข้อมูลอะไรเข้าสู่ระบบ  จัดเก็บโดยวิธีใด  เทคนิคการเรียกใช้ข้อมูล  กำหนดระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล  การสร้างระบบข้อมูลสำรอง  การกู้  และประสานงานกับผู้ใช้ว่าต้องการใช้ข้อมูลอย่างไร  รวมถึงนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  และโปรแกรมเมอร์  ประยุกต์ใช้งาน  เพื่อให้การบริหารการใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

      ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (  Procedures  )
              ในระบบฐานข้อมูลควรมีการจัดทำเอกสารที่ระบุขั้นตอนการทำงานของหน้าที่การงานต่าง ๆ ใน
    ระบบฐานข้อมูล  ในสภาวะปกติ  และในสภาวะที่ระบบเกิดปัญหา  (  Failure  )  ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรทุกระดับขององค์กร

ระบบฐานข้อมูล (Database)


ระบบฐานข้อมูล (Database)

ความหมายของระบบฐานข้อมูล

1. ระบบฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

2.ระบบฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูล
        
3.ระบบฐานข้อมูล (Database System)  หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน ระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล

สรุป : ระบบฐานข้อมูล (Database System)  หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันนำมาเก็บไว้ในที่เดียวกัน หรือเเยกเก็บไว้ๆหลายๆเเฟ้มข้อมูลก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับการใช้งานนั้นๆ การจัดระบบฐาน้อมูลที่ดีจะเป็นประโยชน์ ต่อไปในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปผลงาน

                                                              สรุปผลงาน


                                                         ผลงานชื่่อ "ตู้ฝึกหัด" เหมือนจะยังไม่สมบูรณ์น้ะ 5555.....-0- 




                                                         ผลงานชื่อ " ตู้มีขวดแว้วววววว 555 เย้เฮ้ !!!!!!...




ผลงานชื่อ " x-wing ที่หวานนนที่สุดดในโลกกกก 5555



ผลงานชื่อ " x-wing camera 1 " เย้ๆ บินนนน บินนนน  ฟิ้ววววววว >//<



ผลงานชื่อ "x-wing  camera 2 " มาดูอีกมุมมองของ x-wing เราเด่ะ 55



ผลงานชื่อ " บ้านน ทำมืออ " กิ๊กก กิ้วววว ไม่เสร็จอ้ะ 55



ผลงานชื่อ " ห้องนอนนของหนู " 555 น่านอนนมากเลยยย ( เหรอ )



ผลงานชื่อ " บ้านคู่หู " ดูๆ บ้านน ใครสวยกว่ากันนนน >//////< 



                                       





วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตัวอย่าง animation 3

ตัวอย่าง Animation


3. Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม Maya, Macromedia
และ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง
Toy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น 

ตัวอย่าง animation 2

 ตัวอย่าง Animation



2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ อาจจะเป็นของเล่น
หรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้ได้อีกหลายครั้ง
และยังสามารถผลิตได้หลายตัว  ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน  แต่การทำ Stop Motmotion นั้น

ตัวอย่างวิดีโอ animation 1


                                             ตัวอย่างAnimation




1. Drawn Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ  แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่นาที
ข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ  สวยงาม  น่าดูชม  แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก  ต้องใช้แอนิเมเตอร์
จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย